Upload

Log in to follow creators, like videos, and view comments.

eh-background

Create effects

See more
© 2023 TikTok

cmulhm

Lanna House Museum CMU

2Following
2798Followers
24.4KLikes

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ยินดีต้อนฮับเจ้า 😆

EP 3 นานาทัศลาบ Teaser |
จากสารคดีชุด “จุดกำเนิด เลิศรสเหนือ”
ผลงานจากน้องๆ นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา สัมมนาการผลิตทางการสื่อสาร
ในหัวข้อเรื่อง “จุดกำเนิดลาบ เลิศรสเหนือ”
ลาบ เส้นทางแห่งกาลเวลา เรื่องราวของลาบ อาหารพื้นเมือง ที่เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน เเละอนาคต จากตำนานสู่จานโปรด

#จุดกำเนิดเลิศรสเหนือ #ลาบเหนือ #ลาบล้านนา #ลาบ #ลาบดิบ
EP 1 กำเนิดลาบ Teaser |
สารคดีชุด “จุดกำเนิด เลิศรสเหนือ”
ผลงานจากน้องๆ นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา สัมมนาการผลิตทางการสื่อสาร
ในหัวข้อเรื่อง “จุดกำเนิดลาบ เลิศรสเหนือ”
ลาบ เส้นทางแห่งกาลเวลา เรื่องราวของลาบ อาหารพื้นเมือง ที่เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน เเละอนาคต จากตำนานสู่จานโปรด

#จุดกำเนิดเลิศรสเหนือ #ลาบเหนือ #ลาบล้านนา #ลาบ #ลาบดิบ
ตลาดทุ่งฟ้าบด เดิมก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นตลาดขายวัวควาย หรือที่คนในท้องถิ่นเรียกว่า “กาดวัว” ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่-หางดง-สันป่าตอง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นมานานมากกว่า 60 ปี บนพื้นที่สิบกว่าไร่ เปิดทุกวันเสาร์ เวลาประมาณ 07.00-12.00 น. ในตลาดแห่งนี้แสดงให้เห็นเมืองเชียงใหม่ในชนบทที่เป็นสังคมการเกษตร มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ สินค้าในตลาดมีหลากหลายประเภททั้งเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นสำหรับคนในท้องถิ่น เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องครัว เครื่องมือสำหรับการเกษตร เครื่องมือช่าง อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ อาหารสด อาหารแห้ง วัตถุดิบ เครื่องปรุง รวมไปจนถึงรถจักรยานยนต์ ฯลฯ
#กาดงัว #ตลาดทุ่งฟ้าบดเชียงใหม่
สับฟาก -
ฟาก เป็นวัสดุพื้นบ้านที่ได้จากการสับท่อนไม้ไผ่ ใช้ในการทำพื้นหรือผนังในอาคารที่มีอายุการใช้งานไม่ยาวนานมากนัก ไม้ที่นิยมใช้ทำฟากในล้านนาคือไม้ซาง ซึ่งเป็นไผ่นวลที่แก่หรือแก่จัด เลือกตัดไผ่ที่มีลำต้นตรง ให้ท่อนมีความยาวตามความต้องการ แล้วใช้ขวานหรือพร้าปลายตัดสันหนาที่เรียกว่ามีดงกสับที่ข้อให้ห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อสับทุกปล้องแล้วจึงใช้มีดหรือขวานแล่งเพียงรอยเดียวตั้งแต่โคนถึงปลาย และแบะท่อนไม้ไผ่สับนั้นหงายลง ใช้มีดหรือขวานถากข้อปล้องด้านในออก และกล่อมคมที่ผิวฟากให้เรียบร้อยแล้วก็อาจนำไปใช้ได้ตามต้องการ เช่น ใช้ปูเป็นพื้นในตูบหรือเรือนเครื่องผูก ใช้ทำเป็นฝาบ้านหรือยุ้งข้าว ใช้กั้นดินหรือทรายที่ฝาย ฯลฯ
วิดีโอประมวลภาพบรรยากาศ
การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์เรือนพื้นถิ่นล้านนา (เรือนเครื่องผูก) ที่เสร็จสมบูรณ์ 1 หลัง โดยใช้ระยะเวลาในการสร้างทั้งหมด 3 วัน ซึ่งเกิดจากการร่วมมือ ร่วมใจของน้องๆ นักศึกษาหลากหลายสถาบัน ทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยพะเยา เเละมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเเละทีมสล่าไม้ไผ่ ที่รังสรรค์เรือนเครื่องผูกหลังนี้ให้เสร็จสมบูรณ์

สามารถเข้ามาเยี่ยมชมผลงานของน้องๆ ได้
ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเเละล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่นอกรั้วมหาวิทยาลัย เลียบถนนคันคลอง ตรงข้ามตลาดต้นพยอม
Location : https://goo.gl/maps/HijkjeCvzyPt6qXz7
Website : https://art-culture.cmu.ac.th/Museum
กลองหลวง เป็นกลองที่หุ้มหนังหน้าเดียว มีขนาดใหญ่ เป็นที่นิยมกันมากในวัฒนธรรมของชาวไทยอง และไทยวน ที่อาศัยอยู่ในแถบจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ หรือบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิง โดยใช้ตีในงานหรือพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น งานสมโภช และสรงน้ำพระธาตุ หรือเจดีย์สำคัญของวัดต่างๆ และงานปอยหลวง เป็นต้น
กลองหลวง เดิมจากบทบาทที่รับใช้พิธีกรรมทางศาสนา โดยนำเอากลองหลวงหลายๆ ลูก จากวัดต่างๆ ที่มาเข้าร่วมขบวนหรือแห่ในงานพิธี เมื่อเสร็จงานแล้วก่อนที่จะนำกลองหลวงกลับ แต่ละวัดจะนำกลองหลวงมาตี เพื่อประลองเสียงกัน เป็นการแลกเปลี่ยน และเปรียบเทียบเทคนิคการตี เพื่อความสนุกสนาน จนเริ่มมีพัฒนาการในเรื่องของเสียงให้เกิดความดังมากขึ้น โดยการดัดแปลงขนาดและรูปทรงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังมีการปรับโครงสร้างภายในของกลอง ให้เป็นกลองสำหรับตีแข่งขันโดยเฉพาะ จนเกิดการแข่งขันกลองหลวงเกิดขึ้นในราว พ.ศ.2496 โดยพระครูเวฬุวันพิทักษ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง ท่านเป็นผู้ริเริ่มและที่จะอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนากลองหลวง โดยขณะนั้นการแข่งขันกลองหลวงได้จัดขึ้นที่ลานหน้าวัดพระพุทธบาทตากผ้า โดยมีกลองหลวงจากวัดต่างๆ ในแถบเชียงใหม่ และลำพูน เข้าร่วมแข่งขัน จนเกิดความนิยมการแข่งกลองหลวงขึ้นกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ข้อมูลจากหนังสือ นาฏดุริยการล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม มช.
การสืบชะตาเมือง ตามความเชื่อของชาวล้านนา เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ทั้งนี้เพราะบางครั้งเห็นว่าบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนอันมาจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์มาเบียดเบียน ทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะการจลาจล การศึก หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมือง ดังนั้นผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองจึงให้จัดทำพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อสืบอายุของเมืองให้ดำเนินต่อเนื่องไป

กรณีเมืองเชียงใหม่นั้น มีการทำพิธีสืบชะตาเมืองเป็นประจำทุกปี โดยกระทำต่อเนื่องกับการเข้าอินทขีลหรือการบูชาหลักเมืองเชียงใหม่ในช่วงปลายเดือนแปดต่อกับเดือนเก้า (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ทั้งนี้ศาสตราจารย์มณี พยอมยงค์ ได้กล่าวถึงพิธีสืบชะตาเมืองในสมัยพระเมืองแก้วแห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 2038 – 2068) ไว้อย่างละเอียดโดยกล่าวว่า พระมหากษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่จะทรงเป็นประธานในพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อให้เกิดความสุขสวัสดีแก่บ้านเมืองและประชากรโดยทั่วไป
ประเพณีเลี้ยงดง หมายถึงเซ่นสรวงดวงวิญญาณผีใบป่า เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาหลายร้อยปีหลายช่วงอายุคน คำว่า“ดง” เป็นภาษาพื้นเมืองไทยภาคเหนือ หมายถึง ป่าไม้หรือป่าดงดิบ ซึ่งป่าเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งมีชีวิต สภาพแวดล้อมในป่า ได้สร้างทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น พืชพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ และรักษาความสมดุลของธรรมชาติ ตลอดจนเป็นต้นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต ให้น้ำอุปโภค บริโภค พืชพันธุ์อาหาร และยารักษาโรค
ผีปู่แสะ-ย่าแสะ เป็นชื่อที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม และตำนานวัดดอยคำกล่าวกันว่าทั้งคู่เป็นยักษ์สามีภรรยา อาศัยอยู่ที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงบริเวณนั้น ปู่แสะ-ย่าแสะและบุตรได้พยายามจะจับพระพุทธเจ้ากิน แต่ก็ถูกพระพุทธองค์ทรมานจนยอมแพ้และให้ถือศีล ปู่แสะ-ย่าแสะ พยายามขออนุญาตกินมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งพระพุทธองค์มิได้ทรงยอมทำตาม แม้จะขอกินเลือดมนุษย์เพียงหนึ่งหยดก็ไม่ได้รับอนุญาตเช่นกัน จนท้ายสุดปู่แสะ-ย่าแสะก็ขอกินควายเขาฅำ(ควายที่มีลักษณะเขายาวไม่เกินใบหู) ซึ่งพระพุทธเจ้าก็สั่งให้ทั้งสองไปขอกับเจ้าเมืองเอาเอง
ส่วนบุตรของปู่แสะ-ย่าแสะมีความประทับใจในคำสอนของพระพุทธองค์จึงขอบวช แต่พระพุทธเจ้ามิได้อนุญาต และทรงให้บวชเป็นฤๅษีเท่านั้น เมื่อบวชแล้วมีชื่อว่าสุเทวฤๅษีหรือวาสุเทวฤๅษี อันเป็นที่มาของชื่อดอยสุเทพ
#ประเพณีเลี้ยงดง #ปู่แสะย่าแสะ #เลี้ยงดง
Get TikTok App